![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhSJnL7elIGC53oFU52B8RTcb8HoF9s_3_xHeYoUBVj0RyvsAFGsLAk0kYSjegmqHR_bjFmqXva5T8H-aQ1xHotm8z1hIPTACcaWbAmEQ8ry68PbnY3Zln9T2WPyYt9KYNG9sisP80L2JN6/s320/NECTEC_2.jpg)
ประวัติ NECTEC
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology :NECTEC หรือเนคเทค) ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 โดยในระยะเริ่มต้นมีสถานะเป็นโครงการภายใต้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น) ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม 2534 เนคเทคได้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นศูนย์แห่งชาติเฉพาะทาง และเปลี่ยนการจัดรูปแบบองค์กรใหม่เพื่อให้มีความคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2534
สวทช.เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ มีระบบการบริหารและนโยบายที่กำหนดโดย คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในภาครํฐบาลและภาคเอกชนฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีคณะกรรมการบริหารซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับ กวทช. คือ มีกรรมการจากภาครัฐและภาคเอกชน อย่างละประมาณฝ่ายละเท่า ๆ กัน และมีผู้อำนวยการ กวทช. เป็นประธานเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาการให้บริการทางเทคนิคและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐและเอกชน
ภารกิจหลักของ NECTEC
- การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ
- การดำเนินการวิจัยเอง เพื่อเร่งให้ผลงานวิจัยเกิดผลจริงในภาคอุตสาหกรรม
- การให้บริการเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม
และสารสนเทศ
- การทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
งานวิจัยและพัฒนา
งานวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม (Research Development Design and Engineering: RDDE) ถือว่าเป็นภารกิจหลักที่สำคัญที่สุดของเนคเทค นอกเหนือจากภารกิจทางด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านนโยบาย กฎหมาย และโครงสร้างพื้นฐานทาง ICT ซึ่งเนคเทคได้ดำเนินภารกิจหลักนี้มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์กรในปี พ.ศ. 2529 มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผลงานจากโครงการวิจัยต่าง ๆ และได้นำไปถ่ายทอดให้กับผู้ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
บริการวิชาการ
นอกจากจะมีภารกิจหลักทางด้านการวิจัยและพัฒนาแล้ว บทบาทการให้บริการทางวิชาการของเนคเทคก็เป็นบทบาทที่สำคัญในอันที่จะช่วยสนับสนุนให้หน่วยงานและบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเนคเทคได้มีบริการที่สำคัญคือ โครงการรับรองคุณภาพบริภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในประเทศในการสร้างผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่ผลิตในประเทศให้มีคุณภาพ และมาตรฐานเทียบเท่าผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
เข้าเว็บไซต์นี้ได้ความรู้เยอะเลยค่ะโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดูเพิ่มเติมที่เว็บนี้ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น